“ความคิดที่หลงทาง”

เมื่อพูดถึง AI คำฮิตในยุคนี้ หลายคนนึกถึงภาพหุ่นยนต์ เมื่อพูดถึง “หุ่นยนต์” หลายคนนึกถึง ภาพสนามแข่งหุ่นยนต์ ที่เต็มไปด้วย เด็กๆ คร่ำเคร่งกับการคีย์คอมพิวเตอร์ พยายามโปรแกรมมิ่งหุ่นยนต์ให้พิชิตภารกิจในสนามแข่งให้สำเร็จ
แต่รู้หรือไม่ เด็กจำนวนไม่น้อยที่คว้าชัยชนะจากสนามแข่งขันหุ่นยนต์ ยังไม่รู้ว่า…. สิ่งสำคัญยิ่งกว่าการแก้โจทย์สั่งหุ่นยนต์ให้พิชิตสนามแข่งได้ คือ อะไร??

การจะก้าวสู่ความสำเร็จในงานหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ
ต้องอยู่บนพื้นฐานความเข้าใจ 3 เรื่อง คือ
1.ความรู้ด้านไฟฟ้าและอิเล็กโทรนิกส์
2.ความรู้ด้านระบบกลไก (Mechanic)
3.ความรู้และทักษะการเขียนโปรแกรมเพื่อสั่งการ Micro Controller

“น่าเสียดายหากเด็กๆ ที่ซุ่มเรียนและฝึกซ้อมอย่างหนักด้านหุ่นยนต์ แต่กลับตอบไม่ได้ว่า sensor ในหุ่นยนต์ของเขามีการทำงานยังไง หรือจะพัฒนากลไกหุ่นยนต์ของเขายังไงให้ทำงานรวดเร็วขึ้นด้วยวิธีใดบ้าง”

จึงน่าคิดว่าในยุคที่ใครๆ ก็มั่นหมายให้เด็กไทยต้องเก่งหุ่นยนต์ ต้องรู้จัก AI ต้องเข้าใจ Coding แต่มีใครฉุกคิดบ้างรึยังว่า การเรียนแบบที่เห็นและเป็นอยู่ ใช่แนวทางที่แท้จริงรึปล่าว หรือเรากำลังมี “ความคิดที่หลงทาง”

จากบทสัมภาษณ์ “อ.จิรัฏฐ์ แจ่มสว่าง”
ครูรางวัลเจ้าฟ้ามหาจักรี
ที่ปรึกษา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ผู้รับผิดชอบ การจัดทำหลักสูตรหุ่นยนต์ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ที่ปรึกษา โรงเรียนสาธิตสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์

ที่มา facebook:Satit PIM Panyapiwat Institute Of Management Demonstration School